วันเสาร์, มกราคม 28, 2555

พรีฟิกส์ counter- กับความหมายของ countersign และ counterpart แปลว่าอะไร

โดย มารพิณ
 www.facebook.com/marnpinbook
มาครับ เร่เข้ามาวันนี้เรามาเรียนรู้ พรีฟิกส์  คำนึงที่เจอบ่อยเหมือนกันในการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ที่เผินๆ  เราอาจจะมองข้ามไป  นั่นคือ...

counter- 

ซึ่งนี่เป็น  พรีฟิกส์  ครับ หรือเป็นท่อน เศษชิ้นส่วนของคำในภาษาอังกฤษที่พอเอาไปเติมหน้าคำอื่นแล้วมันจะมีอิทธิฤิทธิ์พลิกผันสะท้านภพ โดยจะเปลี่ยนความหมายของคำที่วางไว้ข้างหน้าไปเลยอย่างสิ้นเชิง

คำว่า counter- หมายถึง ตรงข้าม สวนไปในทางตรงข้าม (opposition  หรือ  opposite direction) ครับผม 

ตัวอย่างการใช้ในภาษาฝรั่ง ก้อ เช่น 

  • counter-attack ก็แปลว่า  โจมตีกลับ โจมตีสวนโต้กลับ ฝ่ายที่กำลังโจมตีคุณมา  เราหาจะชินหูมาแล้วในทางฟุตบอล ก็คือการ บุกสวนกลับนั่นเอง 
  • counter-revolution    อ่านว่า เข่า เต่อะ เร โหว่ รู๊ ฉั่น  แปลว่า การต่อต้านการปฏิวัติ   การกระทำที่ต่อต้านผลของการปฏิวัติ ถ้า revolution เฉยๆ  ก็แปลว่า การปฏิวัติ นั่นเอง
  • counteract    ออกเสียงว่า เค้าน์ เต่อะ แร็ค   แปลว่า มีปฏิกิริยาต่อต้านกับอะไรบางอย่าง  เอาอะไรมาต้านผลของอีกอย่าง เช่นกินยาเพื่อต้านผลของเชื้อโรค อะไรแบบนี้
  • counterclockwise    ออกเสียงว่า เข่า เต่อะ คล๊อก ไหว่ส์   ก็ความหมายเดียวกับ anticlockwise คือแปลว่า  ทวนเข็มนาฬิกา ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการหมุนของเข็มนาฬิกาบนหน้าปัดนาฬิกาสมัยก่อน 
  • counterbalance ก็คือ ถ่วงดุลย์  เอาน้ำหนักไปวาง ไปถ่วงอีกด้านให้ได้ดุล  ให้สมดุล เห็นมั้ยครับ ว่ามันทำให้ความหมายเปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังตีน 
  • countersign ก็คือเซ็นชื่อร่วม เซ็นชื่อกำกับร่วมในเอกสารกับคนอื่น
และตัวอย่างคำสุดท้ายที่น่าสนใจก็คือ  คำว่า counterpart ซึ่งหมายถึง อีกฝ่ายที่มีฐานะเทียบเท่า หรือเทียบได้แต่อยู่ในองค์กร หน่วยงาน หรือประเทศอื่นเช่น counterpart ของนายกรัฐมนตรีไทยในญี่ปุ่นก็คือ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น   นั่นเองครับ 

แล้วมาเจอกันใหม่ในวันหลังกับรากคำ และพรีฟิกส์ ซัฟฟิกส์ที่น่าสนใจตัวอื่นๆ ในคราวหน้าครับ 


รวมลิงก์หนังสือมารพิณ

 ใครที่คิดว่าเรื่องราวภาษาอังกิดที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆ ใน Facebook ด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามภาษาอังกฤา หรือแก้ปัญหาการบ้านภาษาอังกฤษนะครับ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ (English for learners - blog)