วันอังคาร, ตุลาคม 30, 2555

เดินทางต่างประเทศ - โอนเงิน และTraveller’s Cheques คืออะไร


โดย มารพิณ
ไป เฟซบุ๊ค   www.facebook.com/marnpinbook
ไป หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-แบคแพค

ผมเคยเขียนเรื่องข้อมูลการเดินทางเอาไว้ เลยเอามารวมลงตรงนี้เพื่อให้เป็นประโยชน์กับเพื่อนนักเดินทางมือใหม่ แต่บางส่วนอาจไม่ค่อยได้ใช้แล้วเช่นเรื่องเช็คเดินทาง ที่เป็นวิธีพกพาเงินในยุคก่อนออนไลน์


เช็คเดินทาง
เป็นวิธีคลาสสิก ใช้กันมานาน และเหมาะกับการเดินทางนานๆ หลายเดือน การใช้เช็คเดินทาง (Traveller’s Cheques) เป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าการถือเงินจำนวนมากติดตัวตะลอนๆ เดินทาง แถมบางครั้งยังอาจได้อัตราแลกเปลี่ยนดีกว่าแลกเป็นเงินสดๆ ถือไปอีกด้วย เช็คดอลล่าร์และปอนด์ หรือยูโร เป็นสกุลเงินสากลที่ใช้ได้เป็นสากล 

แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว สกุล US ล่ะครับ มั่นใจได้เลยว่าใช้ได้แทบทุกส่วนของโลก เช่น กรณีเดินทางยาวๆ และยังไม่ต้องการซื้อตั๋วเครื่องบินขากลับ อาจถือเช็คเดินทางแทน

โอนเงินไปต่างประเทศ
ไม้ตายสุดท้าย ถ้าเกิดเงินเราหมดในต่างประเทศหรือมีเหตุฉุกเฉิน เช่นกระเป๋าตังค์หาย บัตรอะไรที่มีหายหมดฯลฯ ต้องการให้คนทางบ้านโอนเงินไปหาเราที่ต่างแดน ก็คือ “บริการโอนเงิน” ครับ หลักการคร่าวๆ ก็คือ คนที่จะโอนเงินให้เราในเมืองไทยก็จะไปที่สาขาของคนที่ให้บริการโอนเงิน เอาเงินให้เขาไป เขาก็จะให้โค้ดหรือรหัสมา จากนั้น คนที่อยู่เมืองไทยก็ โทรหรือส่งอีเมล์หรือส่ง SMS ก็แล้วแต่ครับ เอารหัสที่ว่านั้นมาให้เราที่อยู่เมืองนอก พอเราได้โค้ดมาก็เดินตรงไปที่สาขาผู้ให้บริการ แสดงโค้ด พร้อมหลักฐานประจำตัวรับเงินสดๆ มาได้เลย

ข้อดีของวิธีนี้ก็คือโอนถึงเงินปลายทางได้โดยไม่ต้องมีบัญชีเงินฝากอะไรทั้งสิ้น แต่ข้อเสียก็คือ ค่าธรรมเนียมจัดว่าไม่ถูกเลย แพงใช้ได้เลยล่ะ ควรใช้วิธีนี้ต่อเมื่อฉุกเฉินจริงๆ เท่านั้น

ตัวเลือกที่น่าสนใจในกรณีเมืองไทยคือ Western Union (http://www.westernunion.com) เพราะมีให้บริการหลายแห่งทั้งตามธนาคารต่างๆ  เช่น ธนาคารกรุงเทพ  แบงก์กรุงศรี  หรือแม้แต่ไปรษณีย์สาขาใหญ่ๆ (รายละเอียดการใช้งาน ค่าธรรมเนียม วิธีการต่างๆ ให้ถามผู้ให้บริการในไทยที่มีโลโก้หรือป้าย Western Union ติดไว้ครับ
  ส่วนผู้ให้บริการรายอื่นๆ เช่น 
MoneyGram เป็นต้น  ดูที่ลิงก์  https://www.moneygram.com/MGI/TH/TH/Market/Market.htm?CC=TH&LC=TH   เจ้านี้เขาดีลกับแบงก์ไทยพาณิชย์  CIMB  และทหารไทย แต่เจ้านี้สาขาในแถบเอเชียไม่มากเท่าเวสเทิร์นยูเนียน 


ประกันสุขภาพ -อุบัติเหตุ

ถ้าเราป่วยหนัก หรือเกิดอุบัติเหตุในต่างแดนจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดฝันและเยอะเอาเรื่อง ดังนั้นสำหรับการเดินทางในต่างประเทศเป็นระยะเวลานานๆ โอกาสไม่สบายก็ใช่ว่าจะไม่มีเลย เราอาจลองซื้อประกันสำหรับการเดินทาง ที่มีความคุ้มครองต่างๆ แตกต่างกันไป เช่น ของ Bupa ที่เป็นบริษัทต่างประเทศเน้นประกันสุขภาพ ที่แนะเจ้านี้ก็เพราะมีสาขาและโรงพยาบาลทั่วโลกยอมรับมากที่สุด เบอร์เว็บ http://www.bupathailand.com เบอร์โทร 02-234 7755

ใครที่มีกรมธรรม์ ประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพอยู่แล้ว โทรไปถามคนที่ขายให้เราว่า ครอบคลุมถึงต่างประเทศด้วยหรือเปล่า ถ้าครอบคลุมถามต่อว่าใช้งานยังไง เคลมยังไง




+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ