วันจันทร์, กรกฎาคม 10, 2560

มนุษย์เราไม่ได้มีแต่ภาษาเขียน



โดย มารพิณ

วันนี้เขียนอะไรหนักหนักหน่อยครับ  ปกติแชนแนลยูทูปfeelthai  ของผมจะมีแต่เรื่อง  เที่ยวและเดินทาง  หลังจากเห็นข่าวนี้  ผมว่าคนยัง เข้าใจผิดเรื่องภาษาเขียนกับภาษามนุษย์  ภาษาของคนเราไม่ว่าภาษาไหน มันลึกลับซับซ้อนมากกว่านั้นเยอะ

ปัญหาของเขาคือ เอาแต่เขียนถูกสะกดถูก มองภาษาของมนุษย์เป็นแค่ภาษาเขียน จริงๆแล้วก้อนภาษาที่ใหญ่กว่า มันไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มนุษย์พึ่งมีภาษาเขียน และภาษา และภาษาราชการที่บังคับใช้  ทั่วประเทศ เมื่อ ประมาณไม่ถึง 200 ปีมานี้ ภาษาของมนุษย์ อยู่กับภาษาพูด อยู่กับกฎเกณฑ์ ที่รับรู้กันถ่ายทอด ผ่านชั่วอายุคน การปรับเปลี่ยน มีเป็นไปตามธรรมชาติ วิญญาณของภาษามันอยู่ในนั้น อารมณ์ของภาษามันอยู่ในนั้น ชีวิตชีวาและ database ของภาษา อยู่ใน ความทรงจำ ของคนทั้งสังคม

ถ้าพูดแบบไอที สมัยใหม่ภาษาของมนุษย์คือ database แบบบล็อกเชน blockchain ประเภทนึง เชื่อมกันหมด กระจาย ข้อมูลรู้กันหมดถ้าคิดว่าจะมาแก้อะไรง่ายๆ อันนั้นคิดผิดแล้ว

ภาษา คือความทรงจำร่วมของสังคม คนสองสามรุ่น จำร่วมกัน ว่าคำนี้จะใช้อย่างนี้ ผสมอีกคำจะใช้อย่างนี้ในความหมายนี้ ทั้งผมและคุณ ลูกของ คุณ เพื่อนของผม พ่อของแฟน  หลานของคนรู้จัก ต้องมีความทรงจำเหมือนกัน  ถึงจะไปซื้อปาท่องโก๋ที่ตลาดหรือปากซอยได้

ถ้าความทรงจำร่วมไม่เหมือนกันก็สื่อสารไม่ได้  ภาษาตรงนี้ไม่ใช่แค่ภาษาพูดแต่เป็นภาษาที่อยู่ในระบบเหตุผลความคิดของมนุษย์มีและถ่ายทอดกันมาตั้งแต่สมัยยังไม่มีภาษาเขียน

ผมยกตัวอย่างปาท่องโก๋เพราะว่าคำนี้เป็นคำที่คนไทยโดยเฉพาะที่กรุงเทพเรียกผิด  ความจริงไม่ใช่ขนมทอดแต่เป็นขนมนึ่ง ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านของเราเรียกถูกหมดรวมทั้งแถวภาคใต้
( ผมเคยทำเรื่องนี้ไว้หลายคลิป ไปหาดูได้)

แต่ปาท่องโก๋ที่เรียกติดปากเป็นความทรงจำร่วมของสังคม  ถ้าอยู่เมืองไทยพูดคำว่าปาท่องโก๋ พ่อค้าคนขายก็รู้ว่าเราต้องการอะไร จ้างวินมอเตอร์ไซค์ไปซื้อให้เขาก็รู้ว่าเราจะซื้ออะไรนี่เป็นแค่ตัวอย่างคำ  แต่ตัวภาษา ทั้งหมดทั้งระบบของแต่ละภาษามันลึกไปจนถึง ตรรกะที่ใช้ การวางรูปแบบประโยค การผสมคำ ลำดับของคำ ตำแหน่งของคำและอีกมากมายรวมทั้งรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ  ความรู้สึกของเสียง  ธรรมชาติของอารมณ์  อีกมากมาย

ภาษาของมนุษย์มันอยู่ในหัวอยู่ในความทรงจำร่วมของทุกคนในสังคมที่ใช้ภาษานั้น ไม่ใช่แค่ภาษาเขียน

การฝืนธรรมชาติของภาษา เพื่อตอบสนอง ประสิทธิภาพในการสะกด หรือการเขียนถูกเพื่อไปสอบ เป็นการหักดิบทางภาษา เป็นการเปลี่ยนภาษา ที่ไม่ใช่วิวัฒนาการตามธรรมชาติ เหมือนกับเอาฝอยทองไปใส่ต้มยำ ไม่มีกฎห้าม คนกินอาจได้สารอาหารเพิ่ม แต่มันฝืนความรู้สึกร่วม

การเปลี่ยนภาษาแบบนี้ เหมือนกับ สร้างกฎเกณฑ์ ที่เป็นตัวตนขึ้นมา แล้วปฏิเสธความทรงจำร่วม ของคนทั้งสังคม ที่อยู่ในก้อนภาษา ที่จับต้องไม่ได้ที่ไร้ตัวตน แต่ทุกคนยอมรับกัน
มันจะทำลายกระบวนลักษณะ  ท่วงทีของภาษา  การปรับการสะกดสร้างคำรูปแบบใหม่จะทำลายอารมณ์การผันแบบเดิม ที่อิงเสียงกับสระ ต่อไปจะไม่มีสำนวนไทยแบบเดิมอีก  ต่อไปจะไม่มีสุนทรภู่อีก  ถ้อยคำคล้องจองจะถูกจัดความหมายใหม่ในระบบใหม่นี้

ในสมัยจอมพลป เคยมีการปรับเปลี่ยน ตัวสะกด เพื่อไม่ให้มีคำสะกดซ้ำ เพื่อจัดมาตรฐาน ซึ่งตอนนั้นคนชอบหรือไม่ชอบ ก็ว่ากันไป

แต่สิ่งที่การปรับในสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม ไม่เคยทำคือ ไม่ปรับ โครงสร้างอารมณ์ความรู้สึกและความทรงจำของภาษา แต่ไปปรับที่ตัวสะกดภาษาเขียน ที่เป็นปลายทาง ที่สะกดตัวเขียนต่าง ความหมายเหมือนเดิมอารมณ์ภาษาเหมือนเดิม  สังคมและภาษา มีความทรงจำ เรื่องการผสมสระและคำอย่างไรจอมพลปอ ไม่ได้ไปแตะ แต่ถึงขนาดนั้นก็ได้รับการต่อต้านอย่างมากมาย

แต่การเปลี่ยนภาษาอย่างที่เห็นนี้ อย่างที่เกิดถกเถียงนี้เป็น เหมือนกัน ตัด เท้าตัวเอง ให้เข้ากับรองเท้า แทนที่จะ แก้รองเท้า ให้เข้ากับตีน

ผมไม่คิดว่าคนที่คิดระบบนี้ขึ้นมา  และคนที่สนับสนุนสานต่อ จะรู้ตัวว่าทำอะไรลงไป คำขอร้องของผมได้โปรดใคร่ครวญ  เราอยู่ร่วมกันในสังคมจากอดีตถึงวันนี้และจะอยู่กันอีกในวันหน้าภาษาที่เราใช้สื่อสารกันไม่ได้มีแต่ภาษาเขียน

เด็กสะกดถูกทำข้อสอบภาษาไทยได้อาจจะไม่ใช่จุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุด แม้แต่ตัวสะกดเอง เมื่อร้อยปีที่แล้ว กับสมัยสงครามโลกกับวันนี้ก็สะกดผิดต่างไม่เหมือนกัน  แต่สังคมเราก็อยู่กันมาได้ถ่ายทอดกันข้ามรุ่นมาได้เพราะเราถ่ายทอดความทรงจำของภาษาไม่ใช่ตัวสะกดของคำ
มันมีวิธีอื่นอีกเยอะครับที่จะให้เด็กเขียนสะกดถูกตามแบบที่ต้องการไม่จำเป็นต้องใช้วิธีนี้  อย่าตัดตีนให้เข้ากับรองเท้าเลยครับขอร้อง